เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกินเจ
เทศกาลเจ มีมาปีะมาณ 400 ปีที่แล้วเกิดขึ้นในประเทศจีน ตำนานระบุไว้ว่า เกิดขึ้นในสมัยของชาวจีนที่ถูกแมนจูเข้ามาปกครอง และบังคับชนชาติจีนให้ยอมรับในวัฒนธรรมของตนเอง สมัยนั้นจึงมีคนจีนบางกลุ่มรวมตัวกันต่อต้านแมนจู โดยใช้หลักทางธรรมเข้าร่วมด้วยโดยการนุ่งขาวห่มขาวและไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ตามความเชื่อของชาวจีนว่า กระปฎิบัติตามแนวทางนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองได้
การกินเจ อาหารเจ และการปฏิบัติตนตอนกินเจ
ทุกวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9
ชาวจีนที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของแมนจู จึงพร้อมใจกันถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึง “หงี่หั่วท้วง”
นอกจากนั้น
การกินเจยังเชื่อกันว่าเพื่อเป็นการสักการะพระพุทธเจ้า 7 พระองค์
และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรือดาวนพเคราะห์ทั้ง 9
ในพิธีกรรมนี้งดเว้นการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต
หันมาบำเพ็ญศีล โดยตั้งปณิธานการกินเจ งดเว้นอาหารคาว เพื่อสมาทานศีลคือ
1. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน
2. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดของตน
3. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเนื้อของตน
เทศกาลกินเจของคนเชื้อสายจีนในไทยก็เป็นไปตามความเชื่อข้างต้น
คือเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้า และเจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์
อาหารเจ
“อาหารเจ” เป็นอาหารที่ปรุงขึ้นจากพืชผักธรรมชาติล้วนๆ
ไม่มีเนื้อสัตว์ปน และที่สำคัญต้องไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5
ตามความเชื่อทางการแพทย์จีน
ของผักเหล่านี้มีรสหนัก กลิ่นรุนแรง เป็นเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5
ทำงานไม่ปกติ
สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด นอกจากจะ “ถือศีล-กินเจ” แล้ว
ยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้ “อาหารเจ” นั้นบริสุทธิ์จริงๆ
บางคนจะคัดแยกภาชนะบรรจุหรือปรุงอาหาร
จากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเด็ดขาด
และในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวงไว้เป็นเวลา 9 วันตลอดระยะเวลากินเจ
เพื่อรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อเป็นพุทธบูชา
การกินเจทำได้ 2 แบบ คือ
กินเป็นกิจวัตร คือ ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ทั้ง 3
มื้อทุกวัน
กินเฉพาะช่วงกินเจ คือ กินเจช่วงวันขึ้น 1 ถึง 9
ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน
ส่วนจะปฏิบัติที่เคร่งครัดกว่า
หรือเกินความคิดคำนึงพื้นฐานของคนทั่วไป เช่น ลุยไฟ ใช้เหล็กเสียบแทงตนเอง
หรือม้าทรงต่างๆ ในเทศกาลกินเจที่ภูเก็ต หรือตรัง นั่นคือ
ความเชื่ออันแรงกล้าทำให้เกิดสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นไปได้เสมอ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น